เครื่องมือวัดความดันของของไหล (Pressure gauges) ของ ของไหล

การวัดความดันมีความสำคัญทั้งในชีวิตประจำวัน การแพทย์ การอุตสาหกรรมตลอดไปจนถึงงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่าเรามีเครื่องมือวัดความดันแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องมือวัดความดันอย่างง่าย ๆ ไปจนถึงเครื่องมือวัดความดันสมัยใหม่เช่น สเตรนเกจ (Strain gauges)

เครื่องมือวัดความดันมาโนมิเตอร์ (Manometer)

เครื่องมือวัดความดันอย่างง่ายที่เรียกว่า มาโนมิเตอร์ (Manometer) ประกอบด้วยหลอดแก้วรูปตัว U บรรจุของเหลวซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป จะเป็นปรอทปลายหลอดแก้ว แต่ละข้างต่อกับภาชนะ ซึ่งบรรจุก๊าซที่มีความดันต่างกัน ทั้งนี้ตามที่ แสดงในรูป[7]

แผนภูมิแสดงหลักกการของมาโนมิเตอร์ถ้า ρ เป็นความหนาแน่นของปรอทh1 เป็นความสูงของปรอทในแขนที่ต่อกับภาชนะที่หนึ่งทางด้านซ้ายมือh2 เป็นความสูงของปรอทในแขนที่ต่อกับภาชนะที่สองทางด้านขวามือ

(ทั้ง h1 และ h2 วัดจากจุต่ำสุดของปรอทในหลอดแก้ว)

P0 เป็นความดันของปรอทที่ก้นหลอดแก้วรูปตัว UP1 เป็นความดันของก๊าซในภาชนะที่ 1 ทางด้านซ้ายมือP2 เป็นความดันของก๊าซในภาชนะที่ 2 ทางขวามือความดัน P0 คำนวณจากน้ำหนักของปรอททางแขนด้านซ้ายมือ P 0 = P 1 + ρ h 1 g {\displaystyle P0=P1+\rho h1g\,}

ความดัน P0 คำนวณจากน้ำหนักของปรอททางแขนด้านซ้ายมือ

P 0 = P 2 + ρ h 2 g {\displaystyle P0=P2+\rho h2g\,} P 1 + ρ h 1 g   = P 2 + ρ h 2 g {\displaystyle P1+\rho h1g\ =P2+\rho h2g\,} P 2 − P 1 = P 2 + ρ ( h 1 − h 2 ) g {\displaystyle P2-P1=P2+\rho (h1-h2)g\,}

ในเมื่อ

h = h 1 − h 2 {\displaystyle h=h1-h2}

จากสมการ บอกกับเราว่าความแตกต่างระหว่างความดันในภาชนะที่ 1 และในภาชนะที่ 2 มีค่าเท่ากับความแตกต่างระหว่างความสูงของปรอททางด้านซ้ายมือและขวามือ ถ้าแขนข้างขวามือเป็นปลายเปิดสัมผัสกับบรรยากาศ ความแตกต่างระหว่างความสูงของระดับปรอทก็จะแทนความแตกต่างระหว่างความดันของก๊าซในภาชนะที่ 1 กับความดันบรรยากาศความดันที่วัดได้ด้วยมาโนมิเตอร์ที่กล่าวมานี้วัดมีหน่วยเป็น ทอร์ (torr) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีชื่อ เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (Evangelista Torricelli, ค.ศ. 1608 – 1647)ความดัน 1 torr เกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างของระดับปรอทในหลอดแก้วรูปตัว U เท่ากับ 1 mm และ 1 torr = 133.3 Pa[8]